สกุลเงินยูโร (EUR)

สกุลเงินยูโร (EUR)
เงินยูโร เป็นสกุลเงินที่เริ่มนำมาใช้ เมื่อ 1 มกราคม 1999 เป็นสกุลเงินที่ใช้อย่างเป็นทางการใน 19 ประเทศ ที่ตกลงใช้เป็นสกุลเงินร่วมกัน ในการใช้จ่าย และ ชำระหนี้ได้ตามกฎหมาย จาก 28 ประเทศสมาชิกของสหภาพยุโรป รวมถึง ประเทศ ดินแดน และ หมู่เกาะ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของสหภาพยุโรป หรือที่รู้จักกันใน “ยูโรโซน”ปัจจุบัน มีประชากรที่ใช้สกุลเงินยูโรร่วมกันกว่า 343 ล้านคน (ข้อมูล ล่าสุด 2019 ) เงินยูโร เป็นสกุลเงิน ที่มีการซื้อขายแลกเปลี่ยนกันมากที่สุดในตลาดแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ เป็นอันดับสอง รองจากเงินดอลลาร์สหรัฐอเมริกาสัญลักษณ์ของสกุลเงินยูโร คือ € ใน 1 ยูโร สามารถแบ่งได้เป็น 100 cents (เหมือนเงินบาทไทยที่ 1 บาทไทย แบ่งได้ 100 สตางค์)


ความท้าทายของ เงินยูโร ในปี 2019
แม้ว่าเศรษฐกิจยูโรโซนมีแนวโน้มสดใส และ เติบโตอย่างต่อเนื่อง ซึ่งอาจจะสนับสนุนให้ ECB สามารถยุติการเข้าซื้อพันธบัตรรัฐบาล และ เริ่มมาตรการตึงตัวทางการเงินได้ในอนาคตอันใกล้ แต่ก็ยังมีปัจจัยเสี่ยงที่อาจจะทำให้ ECB ไม่สามารถเร่งออกมาตรการตึงตัวทางการเงินได้ ตามกำหนดการที่คาด เช่น

1.อัตราเงินเฟ้อ
อัตราเงินเฟ้อของยูโรโซน ยังอยู่ในระดับต่ำ ซึ่งต่ำกว่าเป้าหมายของ ECB ที่ตั้งเป้าหมาย เงินเฟ้อให้อยู่ที่ระดับใกล้เคียง 2 เปอร์เซ็นต์ ปัจจุบันอยูที่ประมาณ 1.5 เปอร์เซ็นต์ โดย ECB คาดการณ์ว่า อัตราเงินเฟ้อจะมีค่าเฉลี่ย ประมาณ 1.7% จนถึงปี 2563

2.สถานการณ์ Brexit ยังไม่ได้ข้อสรุป
เงินยูโรยังได้รับแรงกดดัน จากสถานการณ์ Brexit ที่ยังไม่ได้ข้อสรุป โดย เทเรซา เมย์ นายกรัฐมนตรีอังกฤษ ได้เรียกร้องให้สหภาพยุโรป (EU) ให้เวลาแก่อังกฤษมากขึ้น ล่าสุดเมื่อ เมื่อวันที่ 10 เมษายน 2019 มีการประชุมอียูซัมมิตเพื่อหารือเกี่ยวกับการต่อเวลาเบร็กซิต (Brexit) ซึ่งหลังประชุม ผู้นำประเทศต่าง ๆ ของอียู เห็นชอบในการเลื่อนเวลาเบร็กซิต ออกไปได้จนถึง 31 ตุลาคม 2019

3.เศรษฐกิจโลกมีแนวโน้มชะลอลง (ข้อมูล ณ เมษายน 2019)
โดย กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) และ ธนาคารโลก ( world bank) ต่างเห็นพ้องต้องกัน ว่า เศรษฐกิจโลกมีแนวโน้มชะลอลง และ โลกกำลังเจอปัญหาหนี้ครั้งใหญ่ โดย คริสติน ลาการ์ด ผู้อำนวยการ กองทุนการเงินระหว่างประเทศ ได้เรียกร้องให้รัฐบาล และ ผู้มีอำนาจ ที่สามารถตัดสินใจทางการเงินของแต่ละเขตเศรษฐกิจทั่วโลก หลีกเลี่ยงการดำเนินนโยบายการค้าที่ผิดพลาด ซึ่ง รวมถึง การเรียกเก็บภาษี และ สงครามกำแพงการค้า และ IMF ได้ปรับลดคาดการณ์การ การขยายตัวของเศรษฐกิจโลกลงสู่ระดับ 3.3% ในปีนี้ ซึ่งลดลง 0.2% จากที่คาดการณ์ไว้ ในเดือนมกราคม 2019

4.สงครามทางการค้า ระหว่าง อเมริกา และ จีน ที่ยังคงยืดเยื้อ และ ยังไร้ข้อยุติ (ข้อมูล ณ เมษายน 2019)
ถึงแม้ว่าสถานการณ์ จะเริ่มดีขึ้น นักเศรษฐศาสตร์ ชั้นนำของสหรัฐหลายแห่ง บ่งชี้ว่า การทำสงครามการค้ากับจีน และ ประเทศต่าง ๆ ของประธานาธิบดี โดนัลด์ ทรัมป์ ได้สร้างความเสียหาย ต่อเศรษฐกิจสหรัฐ ใน ปี 2561 คิดเป็นมูลค่า ประมาณ 7,800 ล้านดอลลาร์ หรือ 0.04% ของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) ซึ่งผลกระทบ จาก สงครามการค้าของอภิมหาอำนาจทางเศรษฐกิจ ของทั้งสองประเทศ ได้ส่งผลกระทบเป็นวงกว้าง ต่อ ประเทศต่าง ๆ ทั้วโลกรวมทั้งเขตยูโรโซน

5.สงครามทางการค้า ระหว่าง อเมริกา กับ เขตยูโรโซน
ปํญหาระลอกล่าสุด ที่โถมกระหน่ำเข้ายูโรโดยสหรัฐขู่ เรียกเก็บภาษีนำเข้าสินค้าจาก EU ประมาณ 1.1 หมื่นล้านดอลลาร์ จากสินค้าต่าง ๆ เช่น เฮลิคอปเตอร์โดยสาร , ชีส ,ไวน์ , ชุดสกี , รถจักรยานยนต์บางประเภท ในขณะที่ ฝั่งยูโรขู่ตอบโต้กลับ ด้วยการเรียกเก็บภาษีต่อสินค้านำเข้าจากสหรัฐ เช่นกัน ต้องรอดูว่าสถานการณ์จะดำเนินต่อไปอย่างไรจะยืดเยื้อหรืไม่ ซึ่งถ้าหากยืดเยื้อก็จะไม่ส่งผลดีต่อเขตยูโรโซน

ขอบคุณข้อมูลจาก https://www.thaifrx.com